โภชนาการลูกรัก
โภชนาการลูกรัก
» โภชนาการดี เจริญเติบโตเหมาะสมตามวัย สำหรับผู้บกพร่องทางสติปัญญา
09 May 2015 23:30

 

ภาวะโภชนาการมีผลต่อสุขภาพ... อย่างไร

          การที่เด็กได้รับอาหารและสารอาหารที่ถูกต้อง ครบถ้วน เหมาะสมตามวัย ทำให้มีภาวะโภชนาการที่ดี ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการ และการพัฒนาสติปัญญา

 

การส่งเสริมโภชนาการสมวัย... มีความสำคัญอย่างไร

          การมีภาวะโภชนาการที่ดี ในช่วง แรกเกิด – 5 ปี เป็นการวางรากฐานของการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต เนื่องจากสมองและระบบประสาทมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่รวดเร็วมากในช่วงวัยนี้ ส่วนในช่วงวัย 6 ปีขึ้นไป การมีภาวะโภชนาการที่ดี ช่วยให้มีความสามารถในการเรียนรู้ จดจำ สติปัญญา และพัฒนาการตามวัย

          ถึงเวลาแล้วหรือยัง… ที่ผู้ปกครองทุกคนต้องใส่ใจ เรื่อง “อาหารและโภชนาการ” ของเด็กๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กบกพร่องทางสติปัญญา เพราะมีปัญหาด้านการเจริญเติบโตและพัฒนาการช้ากว่าเด็กปกติ จึงต้องให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ

ความจริงของปัญหาหารรับประทานอาหารของเด็กไทยในปัจจุบัน

—  - ไม่ได้กินอาหารเช้า

—  - กินอาหารเช้าที่ขาดคุณภาพ / ไม่พอ

—  - กินอาหารกลางวันคุณภาพต่ำ

—  - กินอาหารที่มีพลังงานสูง

—  - กิน - ดื่มอาหารว่าง หวาน - มัน- เค็ม จัด

—  - ปฏิเสธผัก

—  - กินผลไม้น้อย

—  - ดื่มนมน้อย

—  - ผู้ปกครอง จัดอาหารแบบผู้ใหญ่ให้กิน 

รับประทานอาหารอย่างไร... ให้มีภาวะโภชนาการสมวัย

          การรับประทานอาหารมีมากกว่า “ครบ 5 หมู่” แต่ต้องมีปริมาณที่เพียงพอตามที่ร่างกายต้องการต่อวัน

1.    สำหรับกลุ่มอายุ 1.5 – 5 ปี พลังงานที่ควรได้รับ 1,200 กิโลแคลอรีต่อวัน

หมวดอาหาร

หน่วย

เช้า

ว่างเช้า

กลางวัน

ว่างบ่าย

เย็น

ข้าว/แป้ง/เส้นต่างๆ

ทัพพี

1 ½ 

-

1 ½

-

1 ½

ผัก

ทัพพี (ช้อนกินข้าว)

-

-

½ (2)

-

½ (2)

ผลไม้

ส่วน

½

½

-

½

½

เนื้อสัตว์

ช้อนกินข้าว

2

-

2

-

2

นม

กล่อง/แก้ว

-

1

-

1

-

น้ำมัน/ไขมัน

ช้อนชา

1

-

1

-

1

น้ำตาล

ช้อนชา

1 ½

-

3

-

1 ½


2.    สำหรับกลุ่มอายุ 6 – 12 ปี พลังงานที่ควรได้รับ 1,600 กิโลแคลอรีต่อวัน

หมวดอาหาร

หน่วย

เช้า

ว่างเช้า

กลางวัน

ว่างบ่าย

เย็น

ข้าว/แป้ง/เส้นต่างๆ

ทัพพี

-

2 ½

-

2

ผัก

ทัพพี (ช้อนกินข้าว)

½ (2)

-

1 (4)

-

½ (2)

ผลไม้

ส่วน

½

-

-

1

½

เนื้อสัตว์

ช้อนกินข้าว

3

-

3

-

2

นม

กล่อง/แก้ว

-

1

-

1

-

น้ำมัน/ไขมัน

ช้อนชา

1 ½

-

2

-

1 ½

น้ำตาล

ช้อนชา

2 ½

-

3

-

2 ½

 

3.    สำหรับกลุ่มอายุ 13 – 18 ปี พลังงานที่ควรได้รับ 2,000 กิโลแคลอรีต่อวัน

หมวดอาหาร

หน่วย

เช้า

ว่างเช้า

กลางวัน

ว่างบ่าย

เย็น

ข้าว/แป้ง/เส้นต่างๆ

ทัพพี

2 ½

-

3

-

2 ½

ผัก

ทัพพี (ช้อนกินข้าว)

1 (4)

-

2 (8)

-

1 (4)

ผลไม้

ส่วน

1

-

-

1

1

เนื้อสัตว์

ช้อนกินข้าว

4

-

3

-

3

นม

กล่อง/แก้ว

-

1

-

1

-

น้ำมัน/ไขมัน

ช้อนชา

2

-

3

-

2

น้ำตาล

ช้อนชา

2 ½

-

5

-

2 ½

 

เทคนิคง่ายๆ... ในการเลือกอาหารรับประทานให้มีภาวะโภชนาการสมวัย

               1.  จัดอาหารให้มีความหลากหลายครบ 5 หมู่

                    1.1 ควรมีผักและผลไม้ทุกมื้อ

                    1.2 รับประทานปลาทะเล อย่างน้อย สัปดาห์ละ 2 ครั้ง “หลีกเลี่ยงการทอด” มีงานวิจัยพบว่า

                          กรดไขมันที่ดีจากปลาทะเล (โอเมก้า 3) ช่วยพัฒนาพฤติกรรม อารมณ์ จินตนาการ การพูด

                          รูปแบบการนอน และความสนใจของเด็กออทิสติกดีขึ้น (Gordon Bell at Stirling

                          University)

                    1.3 กินไข่ สัปดาห์ละ 3-7 วัน

2.  จัดอาหาร “มื้อเช้าและมื้อกลางวัน” ในปริมาณตามที่แนะนำ เนื่องจากต้องทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งวัน

     ส่วน “มื้อเย็น” อาจลดลง  เมื่อต้องควบคุมน้ำหนัก

-  สำหรับเด็กออทิสติก ที่มีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง ใช้พลังงานมากกว่าปกติ อาจจะเพิ่มมื้ออาหารมากกว่า 3 มื้อ เช่น เพิ่มมื้ออาหารว่าง 2 มื้อ เพื่อให้ได้รับพลังงานเพียงพอ

3. เลือกอาหารว่างที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะ “มื้อหลังเลิกเรียน”  เนื่องจากใช้พลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งวัน

                    3.1 อาหารว่าง “ไม่ใช่ขนมหวาน” ต้องมีคุณค่าทางอาหาร และมีความหลากหลาย

                    3.2 อาหารว่าง “ไม่ใช่อาหารกลางวัน หรืออาหารเย็น” กินทดแทนกันไม่ได้

                    3.3 ควรกินก่อนอาหารมื้อหลัก ประมาณ 1½ - 2 ชั่วโมง

4. หลีกเลี่ยงอาหารที่มี “คาเฟอีน” เช่น อาหารที่มีโกโก้ผสม น้ำโค้ก ชาต่างๆ กาแฟ โดยเฉพาะเด็กที่มีพฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง เพราะจะกระตุ้นให้อาการมากขึ้น รบกวนการนอน

5. จัดอาหารให้สะดวกแก่การกิน โดยหั่นอาหารให้มีขนาดเล็ก เหมาะสมตามความสามารถในการกินอาหารของเด็ก ตักง่าย เคี้ยวง่าย

6. นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ อย่างน้อยวันละ 10 ชั่วโมง

7. ลดกิจกรรมนั่ง ๆ นอนๆ เช่น ดูทีวี เล่นเกมส์ เป็นต้น

8. ส่งเสริมให้มีกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย และ/หรือออกกำลังกายเหมาะสมตามวัยเป็นประจำ เช่น วิ่งเล่น กิจกรรมเข้าจังหวะ เป็นต้น

 

ผู้บกพร่องที่มีกลุ่มอาการดาวน์  ต้อง... ระวัง!!

          ผู้บกพร่องทางสติปัญญาที่มีอาการดาวน์ พบว่า “ช่วงวัยก่อนเรียน (1-5 ปี) หรือมีปัญหาโรคหัวใจแต่กำเนิดร่วมด้วย” มักจะปัญหา “น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์” สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากความสามารถในการรับประทานอาหารที่ไม่ดี เช่น การดูดกลืนอาหาร/การเคี้ยวอาหารไม่ดี ลักษณะของลิ้นที่มีขนาดใหญ่ทำให้การบดเคี้ยวอาหารไม่ดี ส่งผลให้รับประทานอาหารได้น้อย เมื่อเข้าสู่ “ช่วงวัยรุ่น (13-18ปี)” จะพบปัญหา “โรคอ้วน” มากกว่าร้อยละ 50 เนื่องมาจากการกินมากเกินไป มีการออกกำลังกายหรือกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวันน้อยลง และยังพบว่าผู้บกพร่องกลุ่มอาการดาวน์จะมีอัตราการเผาผลาญพลังงานต่ำกว่าคนปกติ ดังนั้น จึงต้องมีการควบคุมพฤติกรรมการกินอาหารตามปริมาณที่แนะนำเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหนักเกิน และกลายเป็นโรคอ้วนใน “วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่”

 

ผู้บกพร่องทางสติปัญญาที่มีอาการสมองพิการ ต้อง... ระวัง!!

          สาเหตุที่ต้องดูแลด้านโภชนาการผู้บกพร่องทางสติปัญญาที่มีอาการสมองพิการเป็นพิเศษ เพราะ

                    1. ปัญหาการเคี้ยวกลืน, การสำลัก, การอาเจียน, น้ำลายไหล

                    2. ปัญหากรดไหลย้อน

                    3. ปัญหาอาการท้องผูก

          เนื่องจากผู้บกพร่องทางสติปัญญาที่มีอาการสมองพิการเป็นพิเศษ จะพบปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง ทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็กและ/หรือกล้ามเนื้อมัดใหญ่  พ่อแม่หรือผู้ดูแล ควรมีความรู้ความเข้าใจในการ “เตรียมอาหาร” ที่มีสารอาหารครบถ้วน พร้อมทั้ง “เนื้อสัมผัสของอาหาร” ที่เหมาะสมต่อการเคี้ยวกลืน

 

เคล็ด (ไม่ลับ) เทคนิคการเตรียมอาหาร สำหรับ “ผู้ปัญหาการเคี้ยว/กลืนอาหารไม่ดี”

               1.      “ขนาด” ของอาหารควร “หั่นเป็นชิ้นเล็กลง”

2.       “ลักษณะเนื้อสัมผัส” ของอาหารควร “เปื่อยนุ่ม” หรือ “ย่อยง่าย”

3.       แนะนำให้ใช้อาหารเหลวข้นๆ (โดยการใช้แป้งในการทำให้ข้น) เพื่อลดภาวะเสี่ยงของการสำลัก

4.       ถ้าเด็กมีปัญหา “การกลืนลำบาก” ควรใช้อาหารที่ “ลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว” ซึ่งช่วยให้กลืนได้ง่ายกว่า

5.       หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นน้ำลาย เช่น อาหารรสเปรี้ยว เผ็ด

เด็กขาดสารอาหารและกลุ่มเสี่ยง ควรกินอย่างไร

1.       เพิ่มปริมาณอาหารที่ให้พลังงาน เพื่อให้เด็กมีน้ำหนักและส่วนสูงเพิ่มขึ้น ได้แก่

1.1   อาหารประเภทข้าว-แป้ง เช่น ข้าวเหนียว ข้าวเจ้า ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ขนมปัง เผือก มัน

1.2   อาหารไขมัน เช่น น้ำมันพืช โดยการปรุงอาหารด้วยวิธีทอดหรือผัด และกะทิอาจทำเป็นกับข้าวหรือขนมหวานแบบไทยๆ“เด็กเตี้ยและค่อนข้างเตี้ย” ให้กินอาหารพวกเนื้อสัตว์ และ/หรือดื่มนมสดรสจืดเพิ่มขึ้น หากกินไม่เพียงพอ

2.       การเพิ่มอาหาร ต้องค่อยๆ เพิ่มปริมาณจนกว่าได้ตามที่แนะนำ และต้องดูแลกินอาหารให้หมด

3.       ลดปริมาณอาหาร หากบริโภคมากกว่าที่แนะนำ เช่น นม

4.       เพิ่มปริมาณและจำนวนครั้งของอาหารว่าง เป็น 3-4 มื้อ ได้แก่ ช่วงสาย ช่วงบ่าย และช่วงค่ำ และให้ก่อนเวลาอาหารมื้อหลักประมาณ 1½ - 2 ชั่วโมง

5.       งดกินขนม-เครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ เช่น ขนมขบเคี้ยว ขนม-เครื่องดื่มที่มีรสหวานจัด เป็นต้น

6.        ให้เด็กนอนหลับอย่างเพียงพออย่างน้อยวันละ 10 ชั่วโมง

 

เด็กอ้วนและกลุ่มเสี่ยง ควรกินอย่างไร

1.       อย่าอดอาหารมื้อหลัก หรือลดปริมาณอาหารมากเกินไป เนื่องจากเด็กกำลังเจริญเติบโต ดังนั้นการจัดการน้ำหนักจึงควรทำในลักษณะ “ควบคุมน้ำหนัก” ไม่ให้เพิ่มมากเกินไป “ไม่ใช่ลดน้ำหนัก”

2.       การลดหรือเพิ่มอาหาร ต้องค่อยๆ ลดหรือเพิ่มปริมาณทีละน้อย จนกว่าได้ตามที่แนะนำ

3.       ลดปริมาณอาหารที่ให้พลังงานมาก หากกินมากกว่าที่แนะนำ ได้แก่

     3.1   กลุ่มข้าว-แป้ง เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ขนมปัง เผือก มัน เป็นต้น

     3.2   กลุ่มไขมัน เช่น น้ำมัน กะทิ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยวิธีการทอด ผัด แกงกะทิหรือขนมที่ใส่กะทิ ให้เปลี่ยนเป็น                  อาหารที่ปรุงโดยการต้ม ตุ๋น นึ่ง ปิ้ง อบ ยำ แทน

     3.3   หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ติดมัน เช่น หมูสามชั้น หมูติดมัน หนังไก่ ไส้กรอก เป็นต้น

4.       กินผัก ผลไม้รสไม่หวานจัดเพิ่มขึ้น

5.       เปลี่ยนชนิดของนมจากนมสดรสจืด เป็น นมขาดมันเนย หรือนมพร่องมันเนย (รสจืด) ในเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป

6.       งดกินขนม-เครื่องดื่มที่มีรสหวานจัด เช่น ลูกอม ชอคโกแล็ต เยลลี่ น้ำหวาน น้ำอัดลม

7.       งดกินขนมเบเกอร์รี่ เช่น เค็ก โดนัท พาย เป็นต้น

8.       งดกินจุบจิบ เช่น ขนมกรุบกรอบ

9.       ไม่ควรมีอาหาร/ ขนม/ เครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูงไว้ในบ้านมากเกินไป

10.   ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายและ/หรือออกกำลังกายเพิ่มขึ้น

 

ผู้บกพร่องทางสติปัญญาที่มีภาวะชักเกร็ง... จะมีผลต่อภาวะโภชนาการอย่างไร

          ผู้บกพร่องทางสติปัญญาที่มีปัญหา “ชักเกร็ง” ส่วนใหญ่พบว่า จะมีปัญหาด้านภาวะโภชนาการ คือ น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ และผอม (น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง) เนื่องจากเมื่อเกิดอาการชักเกร็ง ร่างกายจะมีการเผาพลาญพลังงานเพิ่มขึ้น ดังนั้นร่างกายจึงมีความต้องการพลังงานและสารอาหารสูงกว่าปกติ ส่งผลให้การรับประทานอาหารตามปกติอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จำเป็นต้องได้รับการจัดอาหารอื่นเสริมเป็นพิเศษ

 

กิน “ยากันชัก”.. มีผลกับภาวะโภชนาการอย่างไร

          ผู้บกพร่องทางสติปัญญาที่ต้องรับประทานยากันชัก มักจะตรวจพบว่า มีระดับกรดโฟลิก แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินบี 6 และคาร์นิทีนในเลือดต่ำ

 

ส่งผลอย่างไร?.. ต่อร่างกาย

                    1. เป็นโรคโลหิตจาง

                    2. กระดูกและฟันไม่แข็งแรง

                    3. การเผาพลาญและดูดซึมโปรตีน ไขมันผิดปกติ

                    4. อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

 

ควรเลือกรับประทานอาหารแบบไหนเพิ่ม.. จึงจะดีต่อสุขภาพร่างกาย

1.       อาหารที่มีกรดโฟลิกสูง เช่น ผักใบเขียวเข้ม แครอท ไข่แดง ตับ ถั่วต่างๆ ส้ม เป็นต้น

2.       อาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ผักใบเขียวเข้ม นมและผลิตภัณฑ์จากนม งาดำ ปลาเล็กปลาน้อย

3.       อาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น ถั่วต่างๆ ธัญพืช เนื้อสัตว์ต่างๆ  ไข่

4.       อาหารที่มีวิตามินบี 6 สูง เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ นม ถั่วต่างๆ ขนมปัง ธัญพืช

 

สาเหตุหลักเมื่อมีปัญหา “กรดไหลย้อน”

                    สาเหตุหลักของโรคนี้เกี่ยวข้องกับความผิดปกติในการทำหน้าที่ของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง เช่น มีการคลายตัวของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างโดยไม่มีการกลืนหรือความดันของหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างลดลง ไม่สามารถต้านแรงดันในช่องท้องและการบีบตัวของกระเพาะอาหารได้ส่วนสาเหตุที่ทำให้หูรูดดังกล่าวทำงานผิดปกติยังไม่ทราบแน่ชัด          พบว่าโรคนี้สัมพันธ์กับความอ้วน โรคเบาหวาน และโรคไส้เลื่อนกะบังลม

การลดการเกิดความผิดปกติของการเปิดปิดหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง ทำได้โดย...

                    1. ลดน้ำหนักถ้ามีน้ำหนักเกิน

                    2. หลีกเลี่ยงหรือลดอาหารประเภทที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด กุนเชียง เนย ครีม น้ำสลัด เป็นต้น

                    3. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนประกอบของชอคโกแลต

                    4. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลมสีเข้ม

                    5. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์

การลดความถี่ในการเกิดกรดไหลย้อนขึ้น ทำได้โดย...

                    1. กินแต่น้อย แต่บ่อยครั้ง ควรแบ่งอาหารออกเป็นมากกว่า 3 มื้อ

                    2. พยายามดื่มน้ำระหว่างมื้ออาหาร

                    3. กินอาหารที่มีใยอาหาร เพี่อลดอาการท้องผูก

                    4. ลดน้ำหนักถ้ามีน้ำหนักเกิน

การลดการระคายเคืองและการบวมของหลอดอาหาร ทำได้โดย...

                    1. ลดอาหารที่เป็นกรดหรืออาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด เช่น ส้ม ส้มโอ มะนาว

                    2. ลดอาหารที่มีรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด หวานจัด

                    3. หลีกเลี่ยงซอสมะเขือเทศ มะเขือเทศ พริกไทย มัสตาร์ด

                    4. หลีกเลี่ยงน้ำอัดลม

 

หนังสืออ้างอิง

1.       bell.pdf [อินเทอร์เน็ต]. [อ้างถึง 19 พฤษภาคม 2015]. สืบค้น จาก: http://www.medref.se/eyeq/bell.pdf

2.       Powerpoint1.ppt [อินเทอร์เน็ต]. [อ้างถึง 19 พฤษภาคม 2015]. สืบค้น จาก: http://www.thatoomhsp.com/userfiles/file/HEALTY/Powerpoint1.ppt

3.       Roongpetch Keowkase, Chuthamanee Suthisisang. Folic acid supplementation in epileptic patients with folate deficiency =: การให้ folic acid ทดแทนในผู้ป่วยโรคลมชักที่มีภาวะของการขาดโฟเลท. 2000. 

4.             National Center on Health, Physical Activity and Disability (NCHPAD).(2012). Down Syndrome and Nutrition.Retrieved March 16,2015.from 

http://www.nchpad.org/165/1281/Down~Syndrome~and~Nutrition.
 
5.             National Center on Health, Physical Activity and Disability (NCHPAD).(2014).Unhealthy Weight in Adolescents with Developmental Disabilities: Obesity Highest in Youth with Autism.Retrieved March 16,2015.from http://www.nchpad.org/1148/5664/.
 
6.             L. Kathleen Mahan, Sylvia Escott-Stump, Janice L. Raymond.(2012). Krause's Food & the Nutrition Care Process.(13nd. ed).United State of America:Jeff Patterson.
 
7.             National Center on Health, Physical Activity and Disability (NCHPAD).(2012). Down Syndrome and Nutrition.Retrieved March 16,2015.from 
http://www.nchpad.org/165/1281/Down~Syndrome~and~Nutrition.
 
8.             National Center on Health, Physical Activity and Disability (NCHPAD).(2014).Unhealthy Weight in Adolescents with Developmental Disabilities: Obesity Highest in Youth with Autism.Retrieved March 16,2015.from http://www.nchpad.org/1148/5664/.
 
9.             L. Kathleen Mahan, Sylvia Escott-Stump, Janice L. Raymond.(2012). Krause's Food & the Nutrition Care Process.(13nd. ed).United State of America:Jeff Patterson.
 
10.           รศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า. โรคเส้นประสาทเหตุขาดสารอาหาร (Nutritional neuropathy) [Internet]. 2558. Available from: http://haamor.com/
 
11.           ชุติวรรณ แก้วไสย, ผกาวรรณ สุทธิวงศ์, ดวงพร จองพิพัฒนพงษ์. คู่มือการฟื้นฟูสภาพในกิจกรรมการรับประทานอาหารสำหรับเด็กพิการทางสมอง [Internet]. 2nd ed. สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558. 50 p. Available from: rajanukul.go.th


เนื้อหาอื่นๆ
อาหารเสริมเด็ก
การให้อาหารเสริมมีจุดมุ่งหมายเพื่อชดเชย พลังงานและสารอาหารจำเป็นที่อาจจะพร่อง ไป
อ่านต่อ..
10 เทคนิคฝึกลูกกินผัก
บ่อยครั้งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเผชิญกับปัญหาลูกไม่ยอมกินผัก
อ่านต่อ..
การกินของลูกวัยอนุบาล
ใน 1 วัน เด็กต้องกินอาหารให้ครบ 3 มื้อ และมีอาหารว่าง 1 หรือ 2 มื้อ
อ่านต่อ..
เมนูต้มตุ๋น เมนูอาหารเสริมเด็กวัย 6 เดือนขึ้นไป
อาหารต้มตุ๋น เป็นหนึ่งในกรรมวิธีปรุงอาหารเสริมให้ลูกวัย 6 เดือนขึ้นไป
อ่านต่อ..