โภชนาการลูกรัก
โภชนาการลูกรัก
» การกินของลูกวัยอนุบาล
25 Apr 2016 12:06
เกณฑ์การเจริญเติบโตของเด็กอายุ 3 - 6 ปี
 
อายุ 3 ปี หนัก 13.8 กิโลกรัม สูงประมาณ 92 เซนติเมตร
อายุ 4 ปี หนัก 16 กิโลกรัม สูงประมาณ 100 เซนติเมตร
อายุ 5 ปี หนัก 18 กิโลกรัม สูงปประมาณ 108 เซนติเมตร
อายุ 6 ปี หนัก 20 กิโลกรัม สูงประมาณ 115 เซนติเมตร
 

การเบื่ออาหาร
หากถามว่า เด็กมีน้ำหนักและส่วนสูงไม่สัมพันธ์กับอายุ นั้นเป็นเพราะอะไร คำตอบที่ได้ก็มีหลายปัจจัย เช่น เด็กกินอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ เด็กขาดการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัว และก็มี เหตุ ด็กเบื่ออาหารด้วย อาการเบื่ออาหารในเด็กวัยอนุบาล เด็กจะไม่รู้สึกหิวและไม่อยากกินอาหาร หรืออาจจะกินบ้างแต่น้อยกว่าปกติ ก็ถือว่าเป็นอาการเบื่ออาหารการเบื่ออาหารไม่ได้มีผลเสียเฉพาะน้ำหนักกับความสูงเท่านั้น แต่ส่งผลเสียทั้งระบบ ที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของการเรียนรู้และความต้านทานโรค เพราะร่างกายไม่ได้รับอาหารในปริมาณที่เพียงพอจึงเป็นผลเสียอย่างมาก ซึ่งแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
 
เบื่ออาหารทุกอย่าง 
หากเด็กเบื่ออาหารทุกชนิดไม่ยอมกินอะไรเลย ถือว่าเป็นความผิดปกติ เด็กอาจจะมีโรค ซึ่งเป็นสาเหตุของการเบื่ออาหาร พ่อแม่ควรพาไปพบแพทย์เพื่อค้นหาโรคที่ซ่อนอยู่ โรคที่เด็กอาจจะเป็นได้ เช่น วัณโรค การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะไข้หวัด ไข้เลือดออก ปอดอักเสบ โรคไตหรือโรคมะเร็ง การขาดสารอาหารบางอย่าง เช่น ขาดธาตุเหล็กและสังกะสี ก็เป็นสาเหตุของการเบื่ออาหารทุกอย่างได้ และการขาดธาตุเหล่านี้ยังส่งผลให้เด็กติดเชื้อได้ง่ายอีกด้วย
 
น้ำหนักจะลดลงในช่วงแรกที่เด็กกินอาหารไม่เพียงพอ ความสูงของเด็กอาจจะยังปกติอยู่ แต่ถ้าปล่อยไว้นานๆ อาจจะหยุดสูง กลายเป็นคนเตี้ยแคระแกรนได้กลายเป็นเด็กขาดสารอาหารภูมิต้านทานโรคก็จะลดลง การขาดธาตุเหล็ก ทำให้เด็กสมาธิต่ำ ส่งผลให้การเรียนรู้ลดลง และหากขาดธาตุเหล็กต่อไปเรื่อยๆ จะทำให้ติดเชื้อง่าย และเบื่ออาหารมากขึ้นอีก หากไม่รีบแก้ไข ออกซิเจนเลี้ยงร่างกายน้อยลง กล้ามเนื้อมัดต่างๆ จะเคลื่อนไหวได้ไม่เต็มที่ และสมองอาจขาดออกซิเจนได้หากขาดธาตุสังกะสี ร่างกายทำงานได้ตามปกติแต่อาจจะท้องเสียหรือมีความต้านทานต่ำได้
 
 
เบื่ออาหารบางอย่าง 
การเบื่ออาหารของเด็ก อาจเป็นเรื่องปกติธรรมดา เพราะธรรมชาติของเด็กไม่ได้กินอาหารมากได้ดีทุกวัน ดังนั้น เด็กไม่จำเป็นที่จะต้องทานอาหารหมดเกลี้ยงทุกวัน เด็กอาจเบื่ออาหารบางประเภท ถือเป็นเรื่องของพฤติกรรมหรือเป็นลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปตามวัยของเด็ก และพบในเด็กได้บ่อยมากกว่าการเบื่ออาหารทุกอย่าง 
 
เด็กบางคนจะเข้าใจว่าทำไมเขาต้องถูกบังคับให้กิน รู้สึกถูกบังคับหรือถูกทำโทษ เด็กอาจจะต่อต้าน เสียใจ ไม่สบายใจ โกรธทำให้เกิดอาการไม่กินอาหารได้เช่นกันเด็กกินอาหารบางอย่างมากเกินไป เช่น ดื่มนมมากถึงวันละ 5-6 แก้ว แทนที่จะดื่มวันละ 2 - 3 แก้ว ทำให้อิ่มและไม่อยากรับประทานอาหารมื้อหลักเด็กที่กินอาหารรสจัด เช่น หวานจัด ทำให้เกิดการเปรียบเทียบกับอาหารที่รสไม่จัด ทำให้รู้สึกว่าอาหารรสไม่จัดเป็นอาหารที่ไม่อร่อยกินจุบกินจิบทั้งวัน เช่น ผลไม้ ขนมถุง นม จึงไม่รู้สึกหิวและไม่อยากกินอาหารตามมื้อปกติน้ำตาลในเลือดเป็นส่วนหนึ่งในการควบคุมความหิว หากระดับน้ำตาลในเลือดลดลงจะกระตุ้นให้หิว 
 
ดังนั้น หากเด็กกินบ่อย หรือกินผลไม้ก่อนอาหารค่ำ น้ำตาลก็จะทำให้เด็กไม่รู้สึกหิวได้เด็กที่อมลูกอมอยู่ตลอดเวลา หรือกินข้าวมื้อนานเป็นชั่วโมง เป็นสาเหตุของการเบื่ออาหารได้เพราะจะทำให้เด็กไม่รู้สึกหิวอาหารมีรสจัดเกินไป ผักบางอย่างมีกลิ่นแรง เนื้อสัตว์ที่เหนียวเกินไป อาหารที่ทิ้งไว้จนอืดหรือเย็น ปริมาณมากเกินไป ก็ส่งผลให้เด็กๆ รู้สึกว่ากินไม่ลงได้บรรยากาศในการกินไม่สนุก พ่อแม่ทะเละกัน ตำหนิดุเด็ก หรือเช็ดปากเด็กอยู่ตลอดเวลา เพราะกลัวจะเลอะเทอะ ไม่ปล่อยให้เด็กได้กินอาหารเองจะทำให้เด็กเบื่ออาหาร
 
 
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเบื่ออาหารของเด็ก
สำหรับเด็กที่ค่อนข้างผอมอยู่แล้ว เมื่อเบื่ออาหารร่างกายจะแสดงอาการภายในสัปดาห์นั้นเลย แต่ถ้าเป็นเด็กที่สมบูรณ์แข็งแรงดี ได้กินอาหารเต็มที่ อาจจะนานหลายสัปดาห์จึงจะแสดงอาการต่างๆการที่เด็กไม่ได้รับวิตามิน บางครั้งน้ำหนักไม่ลดเพราะร่างกายต้องการวิตามินเพียงเล็กน้อย แต่จะส่งผลเสียกับอวัยวะอื่นๆ ดังนั้น แม้น้ำหนักไม่ลด ก็เป็นอันตรายได้อาหารเสริมพวกวิตามินหรือธาตุอาหารต่างๆ ไม่ควรซื้อกินเอง ควรปรึกษาแพทย์ก่อน 
 
อาหารที่มีประโยชน์ไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง เพราะอาหารที่มีราคาแพง แต่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำก็มีเมื่อรักษาอาการเบื่ออาหารได้แล้ว ต้องระวังไม่ให้เด็กเป็นโรคอ้วนตามมาทีหลังเพราะไม่ดีทั้งสองอย่าง ไม่แนะนำให้เด็กกินอาหารมังสวิรัติ เพราะสมองของเด็กยังอยู่ในช่วงที่กำลังพัฒนาและเติบโต ถ้าเด็กได้รับอาหารไม่ครบถ้วนจะมีผลเสียมากกว่าความเข้าใจผิดที่พบบ่อยที่สุด คือ เมื่อเด็กไม่กินข้าว ก็จะให้กินขนมหรือน้ำหวานแทน แต่สารอาหารนั้นทดแทนกันไม่ได้ ยิ่งทำให้เด็กขาดสารอาหารจำเป็นคือ โปรตีน วิตามินและเกลือแร่พ่อแม่ไม่ควรปล่อยให้อาการเบื่ออาหารของเด็กหายไปเอง ควรดูแลแต่เนิ่นๆ เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกายมากกว่าที่คิด 
 
 
การป้องกันและช่วยไม่ให้ลูกเบื่ออาการ
หากพ่อแม่ป้องกันการเบื่ออาหรในเด็กได้ จะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคนั่นเอง วิธีก็ไม่ยุ่งยาก โดยเริ่มจากดูแลสุขลักษณะของเด็กให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศถ่ายเท ไม่ควรพาลูกไปในที่แออัดบ่อยนัก ชวนเด็กๆ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ร่างกายจะได้แข็งแรงและสามารถต้านทานโรคได้ถ้าเด็กหิว ได้กินอาหารอร่อย กินแล้วสนุกด้วย เด็กจะกินอาหารอย่างเป็นสุข ทำให้ไม่เบื่ออาหาร การสร้างวินัยในการกิน ควรจัดอาหารให้เด็กกินเป็นเวลา และไม่ควรให้กินไปดูโทรทัศน์ไป หรือทำกิจกรรมอื่นร่วมด้วย 
 
ก่อนถึงมื้ออาหาร 1 - 2 ชั่วโมง ไม่ควรให้เด็กกินขนมจุกจิกไม่ควรให้เด็กกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เพราะจะทำให้เด็กเกิดนิสัยการกินที่ไม่ถูกต้อง ถ้าเด็กแสดงอาการเบื่ออาหารอย่างชัดเจน แต่ในเบื้องต้นน้ำหนักตัวยังไม่ลดลง ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์ อย่ารอให้ผอมหากเด็กมีอาการเบื่ออาหารแบบผิดปกติ ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ เพราะอาจจะพบโรคที่ป้องกันไม่ได้ อย่างเช่น โรคไตหรือโรคมะเร็ง 
 
 
กินอาหารครบทุกมื้อ
ใน 1 วัน เด็กต้องกินอาหารให้ครบ 3 มื้อ และมีอาหารว่าง 1 หรือ 2 มื้อ เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน และช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตได้ดี 
 
อาหารเช้า 
อาหารมื้อเช้า เป็นอาหารมื้อสำคัญและจำเป็นที่สุด เด็กควรได้รับอาหารเช้าอย่างเพียงพอ เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้สมองมีพลังงานสำรองไว้ สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่อง อาหารเช้าช่วยกระตุ้นพลังให้สมอง หากเด็กกินอาหารเช้าไม่เพียงพอก็จะทำให้ขาดสมาธิ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ ทำให้เรามีพลังที่จะทำงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะพลังสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำ การเรียนรู้ ความกระตือรือร้น ผลดีของการกินอาหารเช้าเด็กจะเรียนและทำงานได้ดีกว่า ส่วนเด็กที่ไม่กินอาหารเช้า 
 
 
ผลเสียของการไม่กินอาหารเช้า
เด็กจะผอมมีน้ำหนักน้อย จะเหนื่อยเร็ว หงุดหงิดง่าย ไม่ค่อยกระฉับกระเฉง มีปฏิกิริยา ตอบโต้กับสิ่งต่างๆ ช้า
 
 
พฤติกรรมอาหารเช้าที่ดี
กินอาหารเช้าให้เป็นเรื่องปกติ หัดให้เด็กกินอาหารเช้าตั้งแต่เล็กๆ ไม่ว่าจะเร่งรีบแค่ไหน จะต้องกินอาหารเช้า อาจเตรียมไปกินในรถก็ได้ ไม่ใช่ว่า ให้เด็กดื่มแค่นมกล่องเดียวเพื่อรองท้อง เพราะสำหรับเด็กวัยนี้จะต้องใช้พลังงานมาก นมกล่องเดียวไม่พอแน่นอนแม้จะเป็นช่วงเวลาปิดเทอม เด็กๆ ก็ต้องตื่นมากินอาหารเช้า พ่อแม่ก็ต้องกินอาหารเช้า เพราะถ้าไม่กินอาหารเช้า เวลาทำงานจะหงุดหงิดง่าย มองโลกในแง่ร้าย ความคิดไม่เป็นเหตุเป็นผล ฯลฯ และต้องกินอาหารเช้าเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กๆสำหรับพ่อแม่ที่ต้องการลดความอ้วน ให้หันมาออกกำลังกาย และกินอาหารเช้า หากต้องการลดอาหารให้ลดที่มื้อเย็นแทน
 
 
อาหารกลางวัน
อาหารกลางวันก็เป็นอาหารมื้อสำคัญเช่นกัน ควรจัดระเบียบมื้อกลางวัน ให้เป็นอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน และดูแลเรื่องแคลอรี่ด้วย เพราะใช่ว่าพอเป็นมื้อกลางวันแล้วจะกิน พิซซ่าที่มีปริมาณไขมันและคอเลสเตอรอลมากๆ ได้ หากเด็กอยากกิน พ่อแม่ก็ต้องหาเมนูพิซซ่าที่เหมาะสม เช่นอาจจะเพิ่มปริมาณผักในพิซซ่ามากขึ้นแทนชีส และใส่ใจในเรื่องคุณค่าของสารอาหารในมื้อกลางวันให้มากขึ้น นอกจากนี้ พ่อแม่ต้องดูแล อาหารกลางวันที่โรงเรียนของเด็กด้วย เช่น การควบคุมโภชนาการของอาหาร และป้องกันโรคอ้วนในเด็กนักเรียนเด็กทุกคนต้องได้รับอาหารกลางวันที่ได้มาตรฐานทางโภชนาการ อาหารกลางวันต้องมีผักทุกมื้อและได้ปริมาณตามที่แนะนำมีน้ำเปล่าที่สะอาดให้เด็กได้ดื่มอย่างพอเพียง ห้ามขายน้ำอัดลมในโรงเรียนเครื่องดื่มในโรงเรียนต้องมีน้ำตาลไม่เกินร้อยละ 5 เฝ้าระวังการเติบโตและภาวะโภชนาการของเด็กเป็นประจำ พร้อมทั้งแจ้งผลภาวะโภชนาการแก่พ่อแม่และให้คำปรึกษาแนะนำปัญหาอ้วนให้ข้อมูลความรู้แก่นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนเพื่อให้มีพฤติกรรมบริโภคและพฤติกรรมสุขภาพอื่น เช่น ติดป้าย/สัญลักษณ์รายการอาหารที่ได้มาตรฐาน 
 
 
อาหารว่าง
เป็นการเติมพลังงานระหว่างวันให้กับเด็กๆ ดังนั้นของว่างระหว่างมื้อควรเป็นอาหารที่มีประโยชน์ เช่นผลไม้ และนมพ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้เด็กโดยเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ไม่กินจุบกินจิบ หรือกินอาหารรสหวาน 
 
ของว่างระหว่างมื้อที่พ่อแม่ควรเตรียมไว้ให้เด็ก ควรเป็นอาหารที่มีประโยชน์ เช่น จัดผลไม้หั่นเป็นชิ้นใส่ภาชนะเก็บไว้ในตู้เย็น หรือถ้าหากต้องการให้ได้อาหารครบหมู่ อาจจัดอาหารประเภทก๋วยเตี๋ยวหรือแซนด์วิช ให้เด็กกินเป็นของว่างระหว่างมื้อ ซึ่งมีสารอาหารครบและกินอิ่มด้วย สำหรับของว่างระหว่างมื้อที่โรงเรียนควรจะมีผลไม้เป็นอาหารว่างอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ 
 
ในโรงเรียนไม่ควรมีการโฆษณาอาหาร ขนมและเครื่องดื่ม ที่ไม่มีประโยชน์ ในโรงเรียนห้ามขายขนมกรุบกรอบ ขนมซองที่มีไขมัน เกลือ และน้ำตาลสูง ห้ามใช้เครื่องขายอัตโนมัติในโรงเรียนระดับอนุบาลและประถม หรือขนมและอาหารว่างที่ขายในโรงเรียนจะต้องมีประโยชน์เป็นไปตามมาตรฐานทางโภชนาการและหากต้องการช่วยป้องกันฟันผุ นมควรจะเป็นนมรสจืด นอกจากนี้ไม่ควรให้เด็กรับประทานขนมรสหวานที่ทำจากแป้ง และน้ำตาลมาก เพราะจะทำให้เด็กติดรสหวานและฟันผุได้ง่าย 
 
 
ความเหมาะสมของอาหารว่าง
จัดเวลาอาหารว่างให้ห่างจากอาหารมื้อหลักมื้อต่อไปอย่างน้อย 1 ชั่วโมงครึ่ง ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือ ประมาณ 09.30-10.00 น. และ 15.00-16.00 น. หากเด็กกินอาหารมื้อหลักได้มาก และระหว่างมื้อไม่หิว ก็ไม่จำเป็นต้องเด็กกินอาหารว่างที่เตรียมไว้อาหารว่างควรมีโปรตีนจากไข่ เนื้อสัตว์ นม เช่น แซนด์วิช ขนมปังหน้าหมู พาย คุกกี้ ผลไม้ก็เป็นอาหารว่างที่มีคุณค่าไม่ควรให้อาหารว่างมีแต่แป้งและน้ำตาลเท่านั้น เครื่องดื่ม ควรให้เด็กดื่ม นมหรือน้ำผลไม้ 
 
 
อาหารเย็น
อาหารมื้อเย็นก็มีความสำคัญเช่นกัน ควรมีสารอาหารครบหมู่ ทั้ง แป้ง โปรตีน น้ำตาล เกลือแร่และไขมัน อาหารที่ควรเลือกเช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน พืชตระกูลถั่วที่ให้ธาตุเหล็กและสังกะสี ถ้าเด็กอยากกินเบอร์เกอร์ก็ควรใช้วิธีปรุงด้วยการย่างหรืออบแทนการทอดที่ต้องใช้น้ำมันมากๆ และควรมีผักและผลไม้เพื่อเด็กให้ได้รับวิตามินและกากใยอาหาร และเครื่องดื่มควรเป็นน้ำผลไม้ นม หรือนมถั่วเหลือง เพียงเท่านี้เด็กก็จะได้รับสารอาหารที่มีคุณค่า และหากอยากให้เด็กมีความสุขในการกินอาหาร สามารถให้เด็กช่วยทำอาหารได้บ้าง เช่น เด็ดผัก ล้างผัก แต่ทั้งนี้ต้องไม่ใช้วิธีบังคับให้ทำ ไม่อย่างนั้นแทนที่เด็กจะสนุกในการทำอาหารและกินอาหาร เด็กจะเครียดและเบื่ออาหารแทนได้ และการกินอาหารมื้อเย็นพร้อมหน้าพ่อแม่หรือทั้งครอบครัว จะทำให้เด็กกินอาหารได้อร่อยและมีความสุข
 
 
เทคนิคที่ช่วยให้เด็กเจริญอาหาร
ปล่อยให้เด็กกินเอง เพราะว่าเด็กจะรู้สึกสนุกกับการกิน อาจจะเลอะเทอะบ้าง พ่อแม่ก็ต้องไม่ดุว่าเด็กฝึกให้เด็กกินอาหารเป็นมื้อๆ ให้เด็กออกกำลังกายกลางแจ้ง เพื่อให้ร่างกายได้เผาผลาญแคลอรี เด็กจะหิวและอยากกินอาหารเอง
 
สร้างบรรยากาศการกินให้สนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ และหากิจกรรมมาเพื่อดึงความสนใจลูกให้อยากกินอาหาร เช่น การทายชื่อผักในอาหาร หรือให้เด็กมีส่วนร่วมในการเลือกเมนูทำอาหารในขั้นตอนง่ายๆ จัดอาหารให้น่ากินด้วยการใส่ผักหลากสี ปั้นเป็นตัวการ์ตูนที่เด็กชอบ พร้อมทั้งตั้งชื่ออาหารให้เหมือนของเล่นหรือการ์ตูนที่เด็กชอบก็ได้ไม่ควรบังคับให้เด็กกินในสิ่งที่เขาไม่ชอบไม่ควรให้เด็กกินอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำๆ กันทุกวัน เพราะทำให้ลูกเบื่อไม่อยากกินได้
 
หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
เมื่อเห็นว่ากินน้อย ควรหาอาหารระหว่างมื้อมาให้กิน แต่ต้องไม่บ่อยจนรบกวนอาหารมื้อหลักอาหารต้องไม่มีรสชาติหวานจัด เพราะจะทำให้ลูกไม่อยากอาหารได้ อย่าติดสินบนเพื่อให้เด็กยอมกินอาหาร จะทำให้เด็กติดนิสัยและไม่ยอมกินเมื่อไม่มีของมาแลกเปลี่ยนอย่าบังคับ ขู่เข็ญ ให้เด็กกินอาหาร เพราะจะทำให้รู้สึกไม่ดีต่อการกินและไม่อยากกิน จะกลายเป็นคนกินยากไปแทน
 
 
ข้อมูลจาก momypedia.com
อ้างอิง : นิตยสารรักลูก : นิตยสาร ModernMom : นิตยสาร Kids & School : หนังสือสำนักพิมพ์รักลูกบุ๊ค : www.doctor.or.th : www.inmu.mahidol.ac.th : www.thaihealth.or.th
 
 


เนื้อหาอื่นๆ
อาหารเสริมเด็ก
การให้อาหารเสริมมีจุดมุ่งหมายเพื่อชดเชย พลังงานและสารอาหารจำเป็นที่อาจจะพร่อง ไป
อ่านต่อ..
10 เทคนิคฝึกลูกกินผัก
บ่อยครั้งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเผชิญกับปัญหาลูกไม่ยอมกินผัก
อ่านต่อ..
เมนูต้มตุ๋น เมนูอาหารเสริมเด็กวัย 6 เดือนขึ้นไป
อาหารต้มตุ๋น เป็นหนึ่งในกรรมวิธีปรุงอาหารเสริมให้ลูกวัย 6 เดือนขึ้นไป
อ่านต่อ..