เกร็ดน่ารู้คู่คุณแม่
เกร็ดน่ารู้คู่คุณแม่
» เตือน "ฟันผุในเด็ก” เรื่องเล็กอาจเป็นเรื่องใหญ่
22 Nov 2017 13:50

สถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ ชี้โรคฟันผุเป็นโรคของช่องปากที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก แนะผู้ปกครองควรให้ความสำคัญ ใส่ใจและดูแลเรื่องสุขภาพฟันของลูกน้อยตั้งแต่เด็ก เพื่อสุขภาพฟันที่ดีของลูก

นายแพทย์ภาสกร ชัยวานิชศิริ รองอธิบดีกรมการแพทย์  เปิดเผยว่า โรคฟันผุ เกิดจากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในช่องปากรวมตัวกับเศษอาหารและน้ำลายสะสมกันเป็นคราบ ซึ่งปัญหาฟันผุในเด็ก สามารถเกิดได้ในเด็กตั้งแต่อายุไม่ถึง 1 ปี หรือเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้นเป็นซี่แรก โดยหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เด็กฟันผุ

ส่วนหนึ่งมาจากการเลี้ยงดูของครอบครัว  เพราะในปัจจุบันมักปล่อยให้เด็กนอนหลับไปพร้อมกับขวดนม จึงทำให้น้ำตาลที่อยู่ในน้ำนมหรือนมผง ไปทำลายเคลือบฟันน้ำนม รวมถึงการที่ปล่อยลูกกินขนมกรุบกรอบและขนมหวาน แล้วไม่ยอมแปรงฟัน ซึ่งถ้าหากพ่อแม่ผู้ปกครองปล่อยให้ลูกฟันผุ เด็กจะมีอาการปวดฟันตามมาและอาจเกิดความเจ็บปวดมาก จนไม่สามารถรับประทานอาหารได้ บางคนอาจถึงขั้นขาดสารอาหาร ตลอดจนส่งผลต่อการเจริญเติบโตพัฒนาการของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า และช่องปาก ทั้งนี้ โรคฟันผุในเด็ก อาจส่งผลในด้านจิตใจและอารมณ์ หากเด็กฟันผุมาก ต้องถูกถอนฟัน ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นตามมาขึ้นได้ช้ากว่าปกติและเกิดปัญหาฟันซ้อนเกและถ้าหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจลุกลามขยายใหญ่และลึกขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายอาจต้องสูญเสียฟัน และอาจมีปัญหาอื่นๆ ตามมา

ทันตแพทย์บุญชู สุรีย์พงษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทันตกรรม  กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคฟันผุในเด็กเป็นปัญหาสุขภาพที่ผู้ปกครองต้องเอาใจใส่และดูแลอย่างใกล้ชิดควรต้องสอนและแนะนำให้ลูกไม่ละเลยการทำความสะอาดช่องปากอย่างสม่ำเสมอและถูกวิธี โดยควรฝึกให้เด็กแปรงฟันอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน เพื่อให้เด็กเกิดความเคยชิน เพราะการแปรงฟันมีความสำคัญมาก ส่งผลให้สุขภาพฟันและช่องปากที่ดี

ที่มา: กระทรวงสาธารณสุข



เนื้อหาอื่นๆ
เคล็ดลับเพิ่มสายใยระหว่างพ่อแม่ลูก
ครอบครัว คือ ที่ที่สร้างความสุขให้เรา รวมถึงเป็นที่พักพิงใจ
อ่านต่อ..
'นมแม่' รากฐานแห่งชีวิต
เพราะนมแม่ คือวัคซีนหยดแรกที่จะช่วยปกป้องลูกน้อย และเสริมภูมิคุ้มกัน
อ่านต่อ..
ป้องกันโรคติดเชื้อใน Nursery
สิ่งหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจเพิ่มเติมนั่นคือ การระมัดระวังไม่ให้ติดเชื้อโรค
อ่านต่อ..
'ขนมเด็ก' ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร?
ขนมเด็กคืออะไร ด้วยอิทธิพลของสื่อ ขนมเด็กอาจจะเรียกเป็น ปัจจัยที่ 5 หรือ 6 ของเด็กไปแล้ว
อ่านต่อ..
อันตรายกับเด็กอ้วน
ป้องกันไม้ให้เด็กอ้วนทำอย่างไร
อ่านต่อ..