เกร็ดน่ารู้คู่คุณแม่
เกร็ดน่ารู้คู่คุณแม่
» อันตรายกับเด็กอ้วน
06 Jun 2018 09:23

 

โรคอ้วนเป็นจุดตั้งต้นของโรคต่าง ๆ ต่อไปนี้

  1. ไขมันในเลือดสูง
  2. เบาหวาน
  3. โรคหัวใจ
  4. โรคความดันเลือดสูง
  5. โรคกระดูกเสื่อม
  6. โรคกระดูกข้อผิดปกติ เช่น ขาโก่งงอ
  7. โรคระบบทางเดินหายใจ เช่น อ้วนมากจนหายใจไม่ออก กลางคืนจะนอนไม่พอ และตอนกลางวันจะมีอาการง่วงเหงาหาวนอน นานๆ เข้าอาจมีอาการชีพจรเต้นเร็วและความดันเลือดสูงตามมา
  8. โรคภูมิแพ้ (สารปรุงแต่งในขนม อาจทำให้เด็กเกิดอาการแพ้ได้)
  9. สภาพจิตใจ เด็กที่อ้วนมีความรู้สึกเป็นปมด้อย ถ้าสังคมมีการประกวดคนอ้วน เด็กต่างๆ ก็จะชดเชยว่าอ้วนแล้วอ้วนเลย อ้วนแล้วสามารถ ประกวดได้ แต่เบื้องหลังชีวิตของคนอ้วน ไม่มีใครไปสำรวจว่ากลุ่มคนอ้วนนี้ อมทุกข์ขนาดไหน และถ้าพ้นจากตำแหน่งแล้วเขาจะลงเอยอย่างไร มีระบบการหายใจเป็นอย่างไร จะมีไขมันในเลือดสูง หรือความดันเลือดสูงหรือไม่

ป้องกันไม้ให้เด็กอ้วนทำอย่างไร

  1. หลีกเลี่ยงทอดๆ มันๆ ถ้าเป็นไข่ จะเป็นไข่ต้มได้ก็จะดี แทนที่จะเป็นไข่เจียวหรือไข่ดาว
  2. หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีรสหวาน
  3. กินผัก ผลไม้ตามสัดส่วนที่เหมาะสมแก่วัย
  4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวัการป้องกันไม่ให้อ้วนต้องย้ำตั้งแต่เล็กเลย ตั้งแต่แรกเกิดนมแม่ดีที่สุด แล้วพยายามให้เด็กกินนมแม่ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะว่านมแม่มีความหวานตามธรรมชาติโดยตัวมันเองอยู่แล้ว และไม่เคยปรากฏว่ามีเด็กอ้วนจากการกินนมแม่  พอพ้นจากนมแม่ถ้าจำเป็นจะต้องกินนมสูตรต่อเนื่อง ขอให้ดูฉลากนมแล้วเลือกนมซึ่งมีรสจืดเป็นหลัก ไม่มีการเติมกลูโคส ซูโครส (น้ำตาลทราย) หรือฟรักโทส (น้ำผลไม้ที่หวานจัด) หรือแม้แต่น้ำผึ้ง ในรูปแบบใดทั้งสิ้น ถ้าเป็นอาหารสำเร็จรูป ควรดูว่ามีการเติมเพิ่มความหวานมากน้อย แค่ไหน ควรจะหลีกเลี่ยงสูตรพวกนี้ไว้ด้วย และถ้าเป็นอาหารหลักก็ควรจะเป็นอาหารที่เราควรจะพยายามเตรียมเองตามธรรมชาติ ถ้าเป็นเครื่องดื่มควรเป็นความหวานตามธรรมชาติ เช่น เครื่องดื่มที่เป็นผลไม้สด ไม่มีสารเจือปนใดๆ ทั้งสิ้น และอาจจะไม่มีน้ำตาลในรูปแบบต่างๆ ที่อาจจะแฝงเติมมาเล็กๆ น้อยๆ ของผู้ผลิตต่างๆ 
  5. นมขอให้เป็นนมจืด ในเด็กเล็กและเด็กโตก็ควรเป็นนมจืด ถ้าเป็นเด็กที่มีแนวโน้มจะอ้วนอยู่แล้วก็ควรจะเป็นนมจืดพร่องมันเนย จะเป็นประโยชน์ที่สุด ปริมาณที่จะให้กินคือ ประมาณ 500-600 ซีซี ต่อคนต่อวัน หมายถึง เด็กโตหรือผู้ใหญ่ ถ้าเกินนี้ควรจะไปเน้นที่อาหารหลักมากกว่า และอาหารหลักควรจะต้องอุดมไปด้วยโปรตีน และพืชผักที่เป็นกากใยอาหารร่วมไปด้วย เด็กทุกวัย ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีการเพิ่มเติมความหวาน  รวมทั้งน้ำหวาน และน้ำอัดลม

    แก้ไขลดความอ้วนอย่างไร ไม่ให้อ้วนอีก

    ถ้าเป็นก่อนปฐมวัย (0-5 ขวบ) โอกาสที่จะอ้วนแล้วอ้วนเลย จะมีอยู่ประมาณร้อยละ 20-40 ถ้าเป็นกลุ่มที่เข้าสู่ปฐมวัย (6-12 ขวบ) โอกาสอ้วนแล้วอ้วนเลยไป จนถึงผู้ใหญ่ประมาณร้อยละ 40-60 ถ้าอ้วนเข้าไปอยู่กลุ่มของวัยรุน โอกาสที่จะอ้วนไปจนถึงโตเป็นผู้ใหญ่ร้อยละ 80

กรณีที่อ้วนแล้วควรปฏิบัติตัวดังนี้

              1. หลีกเลี่ยงทอดๆ มันๆ ถ้าเป็นไข่ จะเป็นไข่ต้มได้ก็จะดี แทนที่จะเป็นไข่เจียวหรือไข่ดาว

                2. หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีรสหวาน

              3. กินผัก ผลไม้ตามสัดส่วนที่เหมาะสมแก่วัย

              4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวัน

ที่มา : มูลนิธิหมอชาวบ้าน

 



เนื้อหาอื่นๆ
เคล็ดลับเพิ่มสายใยระหว่างพ่อแม่ลูก
ครอบครัว คือ ที่ที่สร้างความสุขให้เรา รวมถึงเป็นที่พักพิงใจ
อ่านต่อ..
'นมแม่' รากฐานแห่งชีวิต
เพราะนมแม่ คือวัคซีนหยดแรกที่จะช่วยปกป้องลูกน้อย และเสริมภูมิคุ้มกัน
อ่านต่อ..
ป้องกันโรคติดเชื้อใน Nursery
สิ่งหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจเพิ่มเติมนั่นคือ การระมัดระวังไม่ให้ติดเชื้อโรค
อ่านต่อ..
'ขนมเด็ก' ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร?
ขนมเด็กคืออะไร ด้วยอิทธิพลของสื่อ ขนมเด็กอาจจะเรียกเป็น ปัจจัยที่ 5 หรือ 6 ของเด็กไปแล้ว
อ่านต่อ..
‘14 วันหลังคลอด’ เส้นทางเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
วินาทีแรกของการพบปะ มองหน้าซึ่งกันและกันของแม่กับลูก
อ่านต่อ..