เกร็ดน่ารู้คู่คุณแม่
เกร็ดน่ารู้คู่คุณแม่
» เมื่อลูก....พูดไม่เพราะ
02 Jun 2017 14:00
นอกจากเรื่องการกล่าวคำสวัสดี คำขอบคุณขอโทษแล้ว ยังมีอีกหลายๆอย่าง เช่น การพูดที่ไม่มีหางเสียง จะเห็นได้ว่าในภาษาไทยเราสามารถใช้หางเสียงมาช่วยให้คำพูดมีความสุภาพขึ้นมาก แม้ไม่ลงคำว่าคะ ขา การพูดมีหางเสียง คำว่าครับ คำว่าคะ ตามหลังทำให้ดูน่ารักขึ้นมาก หลายคนอยากจะได้ยินลูกของตัวเองพูดเพราะๆ แต่ทำไมลูกพูดไม่เพราะเลยทั้งๆที่ครอบครัวก็ไม่เคยใช้คำพูดที่ค่อนข้างไม่ไพเราะอย่างนั้น
จริงๆแล้วการพูดจาไพเราะส่วนหนึ่งนั้น มาจากพื้นฐานจากครอบครัวอย่างแน่นอน การที่พ่อแม่แสดงคำพูดที่พูดต่อลูก รวมทั้งเวลาพ่อแม่พูดกันนั้นเป็นคำพูดที่มีความไพเราะก็จะเป็นบทเรียนที่เด็กรับรู้และเลียนแบบ แต่ในขณะเดียวกัน คงจะต้องดูด้วยว่าบางครั้งอาจจะมีน้ำเสียงหรือคำพูดบางอย่างที่ไม่ได้ตั้งใจ เช่นเวลามีอารมณ์อาจจะพูดด้วยคำพูดหรือน้ำเสียงที่ค่อนข้างห้วนหรือใช้คำที่รุนแรงออกไปโดยไม่ได้ตั้งใจ เด็กสามารถจับน้ำเสียงหรือคำเหล่านี้ได้ เขาก็อาจจะพูดตาม นอกจากนั้นเด็กยังได้รับผลกระทบจากสังคมภายนอกอีกมากมาย เด็กอาจจะได้ยินคำพูดบางอย่างจากเพื่อน จากที่โรงเรียนหรือจากสื่อต่างๆที่เด็กได้ยินจากคนรอบข้าง เด็กอาจจะเลียนแบบโดยไม่ตั้งใจ
นอกจากนี้มีมารยาทอีกอย่างหนึ่งในเด็กที่อาจจะเกิดปัญหา เช่น เวลาที่เราพูดกันอยู่เด็กก็อาจจะตะโกนหรือพูดแทรกเข้ามา บางทีเขาอาจจะอยากให้หันมาสนใจ มีเพื่อนมาเยี่ยมที่บ้าน กำลังคุยกันอยู่ ลูกก็ตะโกนแข่งกับเราทีเดียว เขาอาจจะกำลังเล่น แล้วทำอะไรได้สำเร็จ เขาอาจจะอยากให้เราหันไปสนใจบ้าง
วิธีรับมือ
ต้องเริ่มต้นเป็นคนที่พูดกับลูกอย่างไพเราะ รวมทั้งพูดกับคนอื่นๆในบ้านด้วย ไม่ใช่ว่าเราพูดกับพี่เลี้ยงของลูกด้วยถ้อยคำที่ไม่สุภาพแล้วลูกเองก็อาจจะได้ยินคำเหล่านี้จากตัวเราเอง การฝึกนี้ต้องทำตั้งแต่เมื่อลูกยังเป็นเด็กเล็กๆเพื่อที่จะทำให้เขารู้สึกคุ้นเคยกับการพูดที่ไพเราะ เด็กเล็กๆโดยทั่วไปจะเห็นว่าเด็กมักจะเลียนแบบคำพูดของเราทั้งหมด ถ้าเรียกเขาอย่างไร เขาก็จะเรียกตัวเองอย่างนั้น และมักจะมีคำพูดที่ไม่ค่อยเป็นปัญหานัก แต่ถ้าเด็กเริ่มโตขึ้น เด็กก็อาจจะได้ยินคำพูดจากคนอื่นนอกบ้านมากขึ้น ก็อาจจะเกิดการเลียนแบบซึ่งเกิดขึ้นได้ง่าย
การฝึกขึ้นอยู่กับแบบอย่างที่เด็กได้เห็น ถ้าคุณพ่อคุณแม่เองเวลาพูดจามีถ้อยคำที่ไพเราะ มีหางเสียงของการพูดจาต่อกัน มีลักษณะของการให้เกียรติกันในครอบครัว ถ้าในครอบครัวมีลักษณะของการไม่ให้เกียรติกัน เช่น เวลาคุณพ่อพูดกับคุณแม่ อยากจะพูดอย่างไรก็ได้ หรือใช้ถ้อยคำที่ไม่ไพเราะ แต่กลับไปพยายามสอนเด็กว่าเขาต้องพูดให้มีหางเสียงกับคนอื่น ก็คงเป็นเรื่องที่ยาก เพราะฉะนั้นเรื่องของแบบอย่างเป็นเรื่องที่สำคัญ ต้องทำให้เด็กได้เห็น ให้เขาได้รู้ว่าเวลาที่เขาพูดอย่างนี้เรามีความพอใจ
ถ้าเขาพูดโดยไม่มีหางเสียง บอกว่าลองพูดใหม่อีกทีสิคะลูก ถ้อยคำที่ไพเราะของเรา จะทำให้เด็กเลียนแบบและพูดใหม่ด้วยถ้อยคำที่ไพเราะขึ้น แนะนำเรื่องคำพูดบางคำที่เหมาะกับสถานการณ์ เด็กอาจไม่รู้จักการเลือกคำใหม่ๆที่เหมาะสมกว่า
ในกรณีที่เด็กพูดแทรก ส่งเสียงดังเพราะอยากได้ความสนใจจากพ่อแม่ ที่สำคัญคือ ควรแสดงความสนใจช่วงสั้นๆ แล้วหันกลับมา แต่อย่าตำหนิต่อว่าเขารุนแรง เพราะว่าที่จริงแล้วเขาเพียงแต่อยากให้เราหันไปสนใจ ฉะนั้นถ้าเราหันไปสนใจลูกก็จะยุติพฤติกรรมตัวนี้ลง ในขณะเดียวกันเราอาจจะค่อยสอนเขาว่า หากอยู่ในขณะที่เกิดขึ้นอย่างสถานการณ์เมื่อสักครู่ แล้วเขาอยากให้เราหันไปสนใจ เขามีวิธีการและบอกเราได้อย่างไร อาจจะหันมาเรียกหรือหันมาบอก แล้วถ้าลูกทำได้อย่างนั้น ก็ควรหันไปสนใจลูกบ้าง ไม่ใช่เอาแต่คุยกับเพื่อนที่มาเยี่ยมจนกระทั่งไม่สนใจ ในที่สุดเด็กก็ต้องกลับไปใช้วิธีเดิมคือตะโกนหรือสอดแทรกเข้ามาอีก
ที่มา : สถานีใจ Mind Station
เนื้อหาอื่นๆ
เคล็ดลับเพิ่มสายใยระหว่างพ่อแม่ลูก
ครอบครัว คือ ที่ที่สร้างความสุขให้เรา รวมถึงเป็นที่พักพิงใจ
อ่านต่อ..
'นมแม่' รากฐานแห่งชีวิต
เพราะนมแม่ คือวัคซีนหยดแรกที่จะช่วยปกป้องลูกน้อย และเสริมภูมิคุ้มกัน
อ่านต่อ..
ป้องกันโรคติดเชื้อใน Nursery
สิ่งหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจเพิ่มเติมนั่นคือ การระมัดระวังไม่ให้ติดเชื้อโรค
อ่านต่อ..
'ขนมเด็ก' ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร?
ขนมเด็กคืออะไร ด้วยอิทธิพลของสื่อ ขนมเด็กอาจจะเรียกเป็น ปัจจัยที่ 5 หรือ 6 ของเด็กไปแล้ว
อ่านต่อ..