พัฒนาการ IQ&EQ
พัฒนาการ IQ&EQ
» ความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กวัยเรียนคืออะไร?
01 Aug 2014 12:13

วามหมายและองค์ประกอบของความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว)

          ความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว : Emotional Quotient) หมายถึง ความสามารถที่จะเข้าใจ และควบคุมอารมณ์ของตนเองได้อย่างเหมาะสมตามวัย สามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ความฉลาดทางอารมณ์จะทำให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมที่เหมาะสม

          อีคิว มีองค์ประกอบ 3 ด้านคือ

          ด้านดี   หมายถึง   ความพร้อมทางอารมณ์ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น

          ด้านเก่ง หมายถึง  ความพร้อมทางอารมณ์ที่จะพัฒนาตนเองไปสู่ความสำเร็จ

          ด้านสุข หมายถึง  ความพร้อมทางอารมณ์ที่ทำให้ตนเองมีความสุข

          แต่ละด้านแบ่งเป็นคุณสมบัติย่อยๆ รวม 9 ลักษณะ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่พ่อแม่ควรปลูกฝังให้เกิดแก่ลูกในวัย 3 – 5 ปี และ 6 – 11 ปี ดังต่อไปนี้

เด็กก่อนวัยเรียน   อายุ 3 – 5 ปี

เด็กวัยเรียน  อายุ 6 – 11 ปี

ดี

รู้จักอารมณ์

ดี

ควบคุมอารมณ์

มีน้ำใจ

ใส่ใจ และเข้าใจอารมณ์ผู้อื่น

รู้ว่าอะไรผิด อะไรถูก

ยอมรับผิด

เก่ง

การกระตือรือร้น/สนใจใฝ่รู้

เก่ง

มุ่งมั่นพยายาม

ปรับตัวตัวต่อการเปลี่ยนแปลง

ปรับตัวต่อปัญหา

กล้าพูดกล้าบอก

กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม

สุข

มีความพอใจ

สุข

พอใจในตนเอง

อบอุ่นใจ

รู้จักปรับใจ

สนุกสนานร่าเริง

รื่นเริงเบิกบาน

       ซึ่งจะเห็นว่าในเด็กวัยแรกเกิด – 5 ปี องค์ประกอบของอีคิวที่สำคัญที่พ่อแม่ควรเสริมสร้างให้ลูกมีดังนี้

          1. การรู้จักและควบคุมอารมณ์ การส่งเสริมให้ลูกควบคุมอารมณ์ได้ดี เริมต้นที่การฝึกให้ลูกรู้ว่าเขากำลังมีอารมณ์อย่างไร รู้จักถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกออกมาเป็นคำพูด เพื่อที่ลูกจะได้รู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง เมื่อโตขึ้นจะสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี การควบคุมตนเอง มี 2 ประการ คือการควบคุมความอยากได้ อยากเป็น ไม่ตามใจตัวเอง และการควบคุมอารมณ์ ลูกควรรู้จักอารมณ์ตนเองและสามารถทำให้อารมณ์สงบได้ โดยที่ไม่เก็บกดอารมณ์ความรู้สึกไว้

          2. การเรียนรู้ว่าอะไรผิดอะไรถูกและการยอมรับผิด การสอนให้ลูกรู้ว่าอะไรที่ควรทำและอะไรไม่ควรทำ พ่อแม่ควรกำหนดขอบเขตว่าอะไรที่ลูกทำได้และอะไรที่ลูกทำไม่ได้ ควรสอนลูกเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมในชีวิตประจำวัน พ่อแม่ควรมีเวลาพูดคุยกับลูกบ่อยๆ โดยการตั้งคำถามที่เปิดโอกาสให้ลูกได้แสดงความคิดเห็น อารมณ์และความรู้สึก หรือการพูดคุย อบรมสั่งสอนโดยการสอดแทรกไปกับการเล่านิทาน การใช้สุภาษิตและคำพังเพย เป็นต้น ลูกๆจึงจะสามารถซึมซับคำสอนเหล่านั้นได้ พ่อแม่ควรฝึกให้ลูกควบคุมความประพฤติตนเอง ด้วยการที่พ่อแม่เป็นคนช่วยควบคุมความประพฤติอย่างสม่ำเสมอ เมื่อลูกโตขึ้นจะเรียนรู้ที่จะควบคุมตนเองได้ในที่สุด นอกจากนี้ลูกๆควรได้รับการฝึกวินัยในเรื่องเหล่านี้ ได้แก่ วินัยในกิจวัตรประจำวัน เช่น การเก็บสิ่งของเข้าที่ ปฏิบัติตามกฎระเบียบ รู้จักกาลเทศะและช่วยเหลือตนเองให้เหมาะสมกับวัย วินัยในการควบคุมตนเอง เช่น ควบคุมอารมณ์ได้ดี และอดทนต่อความลำบากได้ตามวัย

          3. ความสนุกสนานร่าเริง ความสุขของลูกเป็นความสุขแบบสนุกสนานเพลิดเพลิน คือ ความสุขที่เกิดจากการเล่น ไม่ว่าเป็นการเล่นตามลำพัง หรือการเล่นกับกลุ่มเพื่อน ลูกที่มีโอกาสได้เล่นสนุกสนานจะมีจิตใจร่าเริงแจ่มใส มีพื้นฐานอารมณ์ดี

          จะเห็นได้ว่า หากลูกได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสม เด็กจะไอคิวและอีคิวดี ดังนั้นบุคคลที่มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมให้เด็กมีไอคิวและอีคิวดีนั่น ก็คือ พ่อแม่และผู้ดูแลเด็กใกล้ชิด นั่นเอง



เนื้อหาอื่นๆ
การอ่านดีกับลูกอย่างไร
การอ่านเป็นประตูสู่โลกจินตนาการของคนได้ทุกวัย
อ่านต่อ..
เล่นแบบไทยๆ ก็เสริมพัฒนาการลูกได้
“การเล่น” มีส่วนช่วยในการพัฒนาสมอง และส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเด็ก
อ่านต่อ..
‘จ๊ะเอ๋’ กิจกรรมง่ายๆ เสริมพัฒนาการลูก
เชื่อว่าทุกครอบครัวคงเคยเล่นจ๊ะเอ๋กับลูกหลานหรือเด็กเล็กกันมาแล้วทั้งนั้น
อ่านต่อ..
สูตรลับ...เสริมพัฒนาลูกน้อย
คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกลูกโดยเริ่มจากเรื่องใกล้ตัวเริ่มจากเรื่องใกล้ตัว คือ กิจวัตรประจำวัน
อ่านต่อ..